วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ขนมฝรั่ง...กุฎีจีน


ขนมฝรั่งกุฎีจีน


          กุฎีจีนชุมชนเก่าแก่ของกรุงเทพฯ ที่มีความเป็นมายาวนานกว่า 200 ปีตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี นาม "กุฎีจีน" หรือ "กะดีจีน" ย่านที่ความแตกต่างสามารถอยู่ด้วยกันอย่างปกติสุข โดยเส้นบางๆ ที่ดูเหมือนแยกผู้คนออกเป็นกลุ่มตามคติ ความเชื่อ และศรัทธา ไม่ว่าจะเป็นพุทธ คริสต์ อิสลาม หรือลัทธิแบบจีน ไม่อาจเป็นอุปสรรค สมคำร่ำลือว่าเป็นย่าน "สามศาสนา สี่ความเชื่อ" ที่มีความใกล้ชิด และเอื้ออาทรต่อกันมากที่สุดชุมชนหนึ่ง

มรดกวัฒนธรรม สามศาสนา สี่วัฒนธรรม  สะท้อนผ่านมุมมองได้อย่างน่าสนใจว่า….การรวมตัวกันอย่างเข้มแข็งด้วยอาศัยสัญลักษณ์และพื้นฐานความเชื่อของแต่ละศาสนา  ซึ่งสิ่งที่ติดตัวมาเป็นมรดก  หาใช่เงินทอง หากเป็นความคิดทางวัฒนธรรมที่แสดงออกมา และปลูกฝังอยู่กับชุมชน


ความเป็นเมืองที่ทีผู้คนตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่มานานและเคยเป็นราชธานีมาก่อน ก็ทำให้เป็นแหล่งสะสมของคนชาติพันธุ์ ซึ่งได้นำวัฒนธรรมประเพณีของกลุ่มตนติดตัวมาด้วย ไม่เว้นแม้แต่วัฒนธรรมการกิน ของชาวคริสต์เชื้อสายโปรตุเกส




คุณภาคภูมิ สุจจิตรจูล ซึ่งเป็นทายาทรุ่นที่ 5 เป็นเจ้าของและเป็นผู้ทำขนมฝรั่งกุฎีจีนตามแบบฉบับสูตรต้นตำรับ


โบสถ์ซางตาครู้ส
ขนมฝรั่ง ที่ทำกันมานานอยู่ที่ชุมชนกุฎีจีน ข้างวัดซางตาครู้ส ซึ่งสมัยก่อนมีคำคล้องจองกันว่า  อ้อยจีนบางใหญ่  อ้อยไทยบางคูวัด ข้าวหลามตัดวัดระฆัง ขนมฝรั่งกะดีจีน”   และในจำนวนของกินที่กล่าวถึงมีเพียงขนมฝรั่งเท่านั้นที่ยังสืบทอดต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้   ขนมฝรั่งนั้นไม่มีใครเขียนสูตรตายตัวว่าต้องกี่ช้อนตวง กี่ถ้วยตวง หากต้องการทำต้องอาศัยความชำนาญในการกะส่วนผสมต่างๆ 

ขนมฝรั่ง ร้านป้าเล็กซอย9




ทราบประวัติความเป็นมาของขนมฝรั่งกันแล้ว เรามาดูส่วนผสมและวิธีทำของขนมฝรั่งกันเลย....

  • ส่วนผสมขนมฝรั่ง

1.ไข่เป็ดบก
2.น้ำตาลทราย
3.แป้งสาลี

    

   

  • หน้าขนมฝรั่ง


1.ลูกเกดอบแห้ง
2.ลูกพลับอบแห้ง
3.ฟักเชื่อมอบแห้ง
4.น้ำตาลทราย





ขั้นตอนที่ 1  โดยการตีไข่กับน้ำตาลให้ขึ้นฟู


ขั้นตอนที่  2  นำมาผสมแป้งสาลี


  

 ขั้นตอนที่3  คนให้เข้ากัน นำพิมพ์ไปวางบนเตาให้พิมพ์ร้อน


 ขั้นตอนที่ 4 ทาน้ำมันพืชลงในพิมพ์ แล้วหยอดแป้งลงพิมพ์ อบด้วยอุณหภูมิ 300 องศา  ประมาณ 15-20 นาที


 ขั้นตอนสุดท้าย นำมาเคาะออกจากพิมพ์






ข้อมูลทางบรรณานุกรม


  • คุณภาคภูมิ สุจจิตรจูล ผู้ให้ข้อมูลด้านประวัติของขนมฝรั่ง
  • คุณอดุลย์ โง้วซุ่นเฮง ผู้ให้ข้อมูลการทำขนมฝรั่ง
  • ข้อมูลบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ  จิตธนา  แจ่มเมฆ. เบเกอรี่เทคโนโลยีเบื้องต้น.-- พิมพ์ครั้งที่ 5.-- กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,2541. 224 หน้า.1.ขนมปัง. 2.เค้ก. 3.การอบ. I.อรอนงค์ นัยวิกุล, ผู้แต่งร่วม. II.ชื่อเรื่อง.664.752 (หน้าที่1-5) ISBN : 974-553-516-8
  • หนังสือชุด นักเดินทาง...เพื่อความเข้าใจในแผ่นดินธนบุรี  ISBN : 974-8211-87-8  สิงหาคม 2542 (พิมพ์ครั้งแรก).(หน้าที่167-179) รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม  -- ดร.ธิดา  สาระยา โรงพิมพ์กรุงเทพ (1984)  
  • หนังสือขนมหวานทำขาย  ISBN 974-93077-7-1 (หน้าที่ 173) วัลยา ภู่ภิญโญ



สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
วรรณฤดี ดำคำ ได้อนุญาตให้ใช้ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 4.0 International.

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การโพสต์วิดีโอ และการใช้ครีเอทีฟคอมมอนส์






ขนมฝรั่งกุฎีจีน เป็นขนมโบราณที่คนไทยรู้จักกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาที่ทำสืบต่อกันมาเรื่อยๆ ปัจจุบันขนมกุฎีจีนได้ทำอยู่ประจำที่ชุมชนกุฎีจีน เอกลักษณ์ของขนมกุฎีจีนชนิดนี้อยู่ที่เป็นขนมลูกผสมระหว่างจีนกับฝรั่ง ตัวขนมเป็นตำรับของโปตุเกส ขณะที่หน้าของขนมเป็นจีน ซึ่งประกอบด้วยฝักเชื่อม ชาวจีนเชื่อว่ารับประทานแล้วจะร่มเย็น น้ำตาลทรายทานแล้วจะมั่งคั่งไม่รู้จบเหมือนกับน้ำตาลทรายที่นับเม็ดไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีลูกพลับอบแห้ง และลูกเกด ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีราคาและมีคุณค่าทางอาหาร แม้ขนมฝรั่งหน้าตากระเดียดมาทางขนมเค้ก แต่ด้วยสูตรพิเศษที่สืบทอดมาแต่โบราณจะใช้เพียงไข่ แป้งสาลี และน้ำตาลทรายแดงเท่านั้น ไม่มีส่วนผสมของเนยนม ยีสต์ ผงฟู และสารกันบูด แต่เมื่อผ่านการอบด้วยอุณหภูมิความร้อนที่พอเหมาะ จะได้ขนมที่ออกมารสชาติกรอบนอกนุ่มในพอดิบพอดี ยากที่จะเลียนแบบ





























สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ขนมฝรั่งกุฎีจีน โดย น.ส.วรรณฤดี ดำคำ อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 4.0 International.
อยู่บนพื้นฐานของงานที่ https://b9spirit.wordpress.com/2012/09/12/42/.

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

แนะนำตัวผู้เขียน








ชื่อ  นางสาว วรรณฤดี  นามสกุล ดำคำ   ชื่อเล่น มายด์
นักศึกษา ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยรังสิต
คณะ นิเทศศาสตร์ สาขา สื่อสารการตลาด









"บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษา"